ASUS P5Q3 Deluxe WiFi-AP@n Preview

ASUS P5Q3 Deluxe WiFi-AP@n


สวัสดีครับ.... วันนี้ก่อนที่จะเข้าเรื่องเข้าประเด็นก็ขอกล่าวทักทายพูดคุยกันก่อนซักเล็ก น้อยนะครับ สำหรับช่วงนี้ก็ดูเหมือนว่าปีนี้นั้นหน้าฝนเหมือนจะมาเร็วนิดหน่อย ช่วงนี้เราก็จะได้พบเจอกับฝนกันแทบทุกวัน บางวันนั้นแทบจะไม่ได้เจอแดดเอาซะเลย และเมื่อเป็นเช่นนี้วัยรุ่นก็เลยอาจจะออกอาการเซ็งกันเล็กน้อย เพราะจะออกไปไหนมาไหนก็ลำบาก เฉอะแฉะไปหมด ก็คงต้องยอมรับสภาพไปจะบนไปก็เท่านั้น ถึงอย่างไรเราก็ยังคงอาศัยอยู่ในโลกใบนี้ ในโลกใบเดียวกัน ที่ฤดูกาลนั้นเริ่มผิดแปลกไปทุกทีทุกขณะ เราก็คงจะทำได้ก็คือต้องช่วยกันดูแลให้มากขึ้น อย่าพยายามซ้ำเติมให้เลวร้ายลงไป เอาหละบ่นมาพอสมควรแล้วผมว่าเรามาเข้าเรื่องของเรากันเลยดีกว่านะครับ

สำหรับวันนี้เรื่องราวที่ทางเราจะมานำเสนอนั้น ก็เป็นเรื่องราวหนึ่งที่กำลังเป็นกระแสและเป็นอะไรที่กำลังได้รับการเฝ้ามอง กันมากพอสมควร นั่นก็คือเรื่องราวของชิบเซตตัวใหม่ล่าสุดในรหัส Eaglelake P45 จากทางอินเทล หลังจากที่มันได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้วภายในงาน Computex Taipei 2008 ที่ผ่านมา และในวันนี้เราก็มีเรื่องราวและบททดสอบมาให้ได้ชมกันตามสัญญา ตามที่ได้เคยสัญญาไว้ว่าหลังจากเปิดตัวไปแล้วเราก้จะนำผลทดสอบมาให้ได้ชมกัน และก็คงจะได้เห็นได้ชมกันไปบ้างแล้วกับเมนบอร์ดตัวแรกที่ใช้ชิบเซตตัวใหม่ P45 ที่เราได้ทดสอบให้ได้ชมกันไป มาในวันนี้เดี๋ยวเรามาชมกันต่อว่ากับเมนบอร์ดจากอีกหนึ่งค่ายที่เป็นที่ รู้จักกันดีในนาม ASUS นั้นมันจะมีอะไรน่าสนใจหรือจะมีทีเด็ดอะไรบ้าง โดยเมนบอร์ดที่เราจะมาชมผลการทดสอบกันในวันนี้ก็มาในโมเดลชื่อรุ่นว่า ASUS P5Q3 Deluxe WiFi-AP@n เห้นชื่อรุ่นตรงนี้อาจจะคลับคล้ายคลับคลาใช่มัียครับ ส่วนจะใช่หรือไม่ใช่ตามที่กำลังคิดกันอยู่หรือไม่นั้น เราไปติดตามชมกันเลยดีกว่าครับ


Package & Bundled



เรา มาเริ่มต้นเรื่องราวกันที่ตัวแพ็กเกจของมันกันก่อนเลยนะครับ สำหรับตัวแพ็กเกจของ P5Q3 Deluxe ตัวนี้นั้น รูปร่างหน้าตาและสีสันทั้งหมด ก็ไม่มีความแตกต่างไปจากโมเดล P5Q Deluxe จากที่เราเคยนำเสนอไปแล้วครั้งหนึ่งเลยครับ ส่วนที่แตกต่างก็เห็นจะเป็นสิ่งที่อยุ่ภายใน คือในส่วนของอุปกรณ์บันเดิลนั้น จะมีแพ็กเกจสำหรับบรรจุชุดสายเชื่อมต่อต่างๆ ก็เพิ่มความสะดวกในการเก็บให้ง่ายยิ่งขึ้น เป็นสัดส่วนมากขึ้น


Motherboard Detail


เรา มาชมกันต่อที่ตัวเลย์เอาท์ของเมนบอร์ดกันเลยนะครับ สำหรับตัวเมนบอร์ดนั้นก็ยังคงมาในขนาดมาตรฐาน ATX และใช้ PCB สีดำในแบบฉบับของ Deluxe Series และกับความเป็น Deluxe Series ตรงนี้เอง ทำให้เลย์เอาท์ต่างๆนั้นไม่มีความแตกต่างใดๆเลยกับในโมเดล P5Q Deluxe ตามที่เราได้เคยนำมาให้ได้ชมกันไปแล้ว สำหรับใครที่พลาดไปและสงสัยว่าจริงเท็จแค่ไหนก็ตามไปชมได้จาก ใหม่เอี่ยมอ่องบน Intel P45 Chipset กับ ASUS P5Q Deluxe จากจุดนี้เราก็คงพอจะเห็นถึงความแตกต่างได้บ้างแล้ว โดยหลักๆแล้วก้จะเป้นในเรื่องของการรองรับกับเมโมรีที่ใช้ และอีกจุดหนึ่งก็จะเป็นชุด WiFi-AP@n นั่นหละครับ


เอา หละครับในเมื่อเราทราบกันไปแล้วว่าเจ้า P5Q3 Deluxe WiFi-AP@n ของเราในวันนี้นั้น มันมีอะไรแทบทุกอย่างที่เหมือนๆกับ P5Q Deluxe ตรงน้ในวันนี้ผมก็ขอจะไปแบบรวดเร็วหน่อยนะครับ เพราะบางจุดนั้นก็สามารถเข้าไปอ่านได้จากเรื่องราวของ P5Q Deluxe ได้เลยวันนี้ก็จะขอเน้นฌแพาะในส่วนที่น่าสนใจและแตกต่างกันนะครับ... จุดแรกนี้เราก็คงทราบกันแล้วว่าในตระกูล P45 นั้นทาง ASUS ได้ใช้ภาคจ่ายไปซีพียูในขนาด 16 เฟสเพื่อรองรับความสามารถในการโอเวอร์คล๊อกได้ดีขึ้น เท่านั้นยังไม่พอก็ยังคงมีจั๊มเปอร์สำหรับเพิ่มไฟเลี้ยงให้กับทั้งซีพียูและ Northbridge ให้สามารถจ่ายได้เพิ่มมากขึ้น


สำหรับ ด้านล่างของ PCB นั้นก็จะเป็นที่อยุ่ของชุดควบคุมภาคจ่ายไฟทั้ง 16เฟส โดยทางด้านบนนั้นจะเป็นที่อยุ่ของชุด Mosfet, Capacitor และ L หรือ Chock ส่วนชิบควบคุมก็จะลงไปอยู่ทางด้านล่าง ส่วนอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ไม่ขาดหายไปไหนกับ ASUS Stack Cool 2 ก็ยังคงมีมาให้ได้ใช้งานกัน


ชุด ระบายความร้อนทั้งระบบบนตัวเมนบอร์ดนั้น ก็เป็นตัวเดียวกันกับในโมเดล P5Q Deluxe แน่นอนว่าหน้าตาและรูปร่างนั้นไม่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่สองโมเดลนี้แตกต่างกันอย่างชัดเจนและแน่นอนก็คือเมโมรีที่ใช้งาน นี่หละครับ สำหรับในโมเดล P5Q3 Deluxe ที่มีเลข " 3 " ตามหลังอักษร "Q" มาด้วยนั้นก็บ่งบอกให้ทราบว่าเมนบอร์ดตัวนี้จะต้องใช้งานร่วมกับเมโมรีในแบบ DDR3 โดยจะสามารถรองรับเมโมรีที่ความจุรวมกันสูงสุดถึง 16GB ส่วนความเร็วที่รองรับนั้นก็จะมี DDR3-1066,1333,1600 และ 2000MHz (OC)


สำหรับ Expansion Slot นั้นก้จะประกอบไปด้วย 3x Pci-e x16 2.0 แต่จะมีความเร็วในการใช้งานจริงที่เต็ม 16x เพียงสล๊อตเดียวเท่านั้นคือสล๊อตสีน้ำเงิน แต่หากว่าเราใช้งานกราฟิกการ์ดมากกว่าหนึ่งตัวในแบบ Crossfire นั้นความเร็วในการเชื่อมต่อก็จะเป็น 8x + 8x ในกรณี 2x CF แต่ถ้า 3x CF ก็จะเป็น 8x +4x +4x แทน ส่วนสล๊อตอื่นๆนั้นก็จะประกอบด้วย 2x PCI32bit และ 2x Pci-e x1 และสำหรับการ์ดเล็กๆที่ซ่อนอยุ่ระหว่างสล๊อตตรงนี้ก้จะเป็นการ์ด Express Gate ที่เพิ่มความสดวกและรวดเร็วในการใช้งาน Internet ได้อย่างรวดเร็ดเพียง 5 วินาทีหลังจากบูีตเท่านั้น โดยที่ไม่จำเป้นต้องเข้าสู่ OS แต่อย่างไร


สำ หรับพอร์ทในการเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลนั้นก้จะประกอบไปด้วย SATA-II ที่ควบคุมจาก ICH10R จำนวน 6 พอร์ท โดยสามารถรองรับการใช้งานในแบบ RAID ได้ในแบบ RAID 0,1,5 และ 10 นอกจาก 6 พอร์ทจาก ICH10R แล้วนั้นก็ยังจะมี P-ATA 133 มาให้ใช้งานกันอยู่อีก 1 พอร์ทรวมถึง SATA-II อีกสองพอร์ทจาก Marvell ซึ่ง SATA ตรงนี้จะสามารถใช้งานฟังก์ชันพิเศษจาก ASUS ที่มีชื่อว่า Drive Xpert ที่จะช่วยให้การ Backup ข้อมูลจาก HDD สู่ HDD ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย


ใน ส่วนของ WiFi-AP@n นั้นชื่อของมันก้บ่งบอกได้อย่างชัดเจนแล้วว่ารองรับเทคโนโลยีล่าสุดของระบบ Wifi อย่าง WiFi-N เป็นที่เรียบร้อย และนอกจากการ์ด WiFi ตรงนี้จะสามารถใช้ในการรับ WiFi ได้แล้วนั้นมันยังจะสามารถเป้นสถาณีหรือเป็น Router ในการปล่อยสัญญาณ wifi ได้อีกด้วยและที่สำคัญมันยังสามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป้นต้องมีการเปิด เครื่อง เพียงแค่ไม่ถอดสายไฟเลี้ยง 220V ออกจากเต้ารับเท่านั้น และทางด้านของ Back I/O Panel นั้นก็ยังคงมาในแบบฉบับของ ASUS คือจะมีพอร์ท PS/2 มาให้เพียงพอร์ทเดียวเท่านั้น แต่ครั้งนี้มันสามารถเลือกใช้ได้ว่าเราจะใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด ส่วนพอร์ทอื่นๆนั้นก็ยังคงมีมาให้ได้ใช้งานกันตามมาตรฐานในปัจจุบัน


Specification


CPU
LGA775 socket for Intel® Core™2 Extreme/ Core™2 Quad/ Core™2 Duo/Pentium® dual-core/Celeron® dual-core/Celeron® Processors
Compatible with Intel® 05B/05A/06 processors
Supports Intel® 45nm Multi-Core CPU
Chipset
Intel P45/ICH10R with Intel® Fast Memory Access(FMA) support.
Front Side Bus
1600 / 1333 / 1066 / 800 MHz
Memory
4 x DIMM, max. 16GB, DDR3 2000(O.C.) / 1600 / 1333 / 1066 MHz, Non ECC, un-buffered memory
Dual channel memory architecture
Supports Intel® Extreme Memory Profile (XMP)
*Refer to www.asus.com or this user manual for the Memory QVL(Qualified Vendors Lists).
** DDR3 2000(O.C.), it is suggested to use one DIMM per channel
***When installing total memory of 4GB capacity or more, Windows® 32-bit operation system may only recognize less than 3GB. Hence, a total installed memory of less than 3GB is recommended
**** It is recommended to install the memory modules from the orange slots for better overclocking capability.
Expansion Slots
2 x PCI Express 2.0 x16 slots, support ATI CrossFireX™ technology at x8 link
(PCIe x16_1 blue, PCIe x16_2 black*)
1 x PCI Express x16 slot at max. x4 link(black)
2 x PCI Express x1 slots
2 x PCI slots
*PCI Express x16_2 slot (black at max. x8 link)
CrossFire
Support ATI CrossFireX™ technology, up to Quad CrossFireX
Storage
Southbridge
- 6 x SATA 3Gb/s
- Intel® Matrix Storage Technology with RAID 0, 1, 5, 10 support
Marvell 88SE6121
- 1 x UltraDMA 133/100/66 for up to 2 PATA devices
- 1 x External SATA 3Gb/s port (SATA On-the-Go)
Silicon Image Sil5723 (Drive Xpert Technology)
- 2 x SATA 3Gb/s
- Supports EZ Backup and Super Speed functions
*Drive Xpert function is available only when the hard disk drives are set as data drives.
LAN
Dual Gigabit LAN controllers
Marvell 88E8056/88E8001® Gigabit LAN controller featuring AI NET2, Teaming, Redundant
Wireless LAN
ASUS WiFi-AP @n
- 300Mbps* IEEE 802.11n (Draft) and backwards compatible with IEEE 802.11g / b
- Software Access Point mode
*300Mbps is IEEE 802.11n draft specification. Actual throughput varies depending on the wireless environment and other parameters
Audio
ADI® AD2000B 8-channel High Definition Audio CODEC
- Support Jack-Detection, Multi-Streaming, and Front Panel Jack-Retasking
- Coaxial / Optical S/PDIF out ports at back I/O
- ASUS Noise-Filtering
IEEE 1394
LSI®L-FW3227 controller supports 2 x IEEE 1394a ports(one at mid-board; one at back panel)
USB
Max. 10 USB2.0/1.1 ports(4 ports at mid-board, 6 ports at back panel)
ASUS AI Lifestyle Features
ASUS Exclusive Features:
- ASUS WiFi-AP @n
- ASUS True 16-Phase Power Design
- Express Gate SSD
ASUS Power Saving Solutions:
- ASUS EPU-6 Engine
- ASUS AI Nap
ASUS Quiet Thermal Solutions:
- ASUS Fanless Design: heat pipe solution
- ASUS Fanless Design: Stack Cool 2
- ASUS Fan Xpert
ASUS Crystal Sound:
- AI Audio 2
- ASUS Noise Filtering
ASUS EZ DIY:
- ASUS Drive Xpert
- ASUS DieHard BIOS
- ASUS Q-Shield
- ASUS Q-Connector
- AI Direct Link
- ASUS O.C. Profile
- ASUS EZ Flash 2
- Onboard Switch
Overclocking Features
ASUS AI Booster
Precision Tweaker 2:
- vCore: Adjustable CPU voltage at 0.00625V increment
- vDIMM: 64-step DRAM voltage control
- vChipset (N.B.): 48-step Chipset voltage control
- vCPUPLL: 64-step reference voltage control
- vFSB Termination: 40-step voltage control
SFS (Stepless Frequency Selection)
- FSB tuning from 200MHz up to 800MHz at 1MHz increment
- PCI Express frequency tuning from 100MHz up to 180MHz at 1MHz increment
Overclocking Protection:
- ASUS C.P.R.(CPU Parameter Recall)
Special Features
ASUS MyLogo 3
Other Features
- ASUS HE 95
- G.P. Diagnosis Card Bundled
- ASUS SASsaby RAID Card support
Back Panel I/O Ports
1 x PS/2 Keyboard / Mouse combo port
1 x S/PDIF Out (Coaxial + Optical)
1 x External SATA
1 x IEEE1394a
2 x RJ45 port
6 x USB 2.0/1.1
2 x WiFi-AP @n omni-directional antenne
8-channel Audio I/O
Internal I/O Connectors
2 x USB connectors support additional 4 USB ports
1 x Floppy disk drive connector
1 x IDE connector
1 x COM connector
6 x SATA connectors (red)
2 x Drive Xpert SATA connectors (orange)
1 x CPU Fan connector
3 x Chassis Fan connector
1 x Power Fan connector
1 x IEEE1394a connector
Front panel audio connector
1 x S/PDIF Out Header
Chassis Intrusion connector
CD audio in
24-pin ATX Power connector
8-pin ATX 12V Power connector
System Panel (Q-Connector)
1 x TPM connector
1 x Power on switch
1 x reset switch
BIOS
16Mb AMI BIOS, PnP, DMI2.0, WfM2.0, SM BIOS 2.4
Manageability
WOL by PME, WOR by PME, WOR by Ring, Chasis Intrusion, PXE
Accessories
1 x UltraDMA 133/100/66 cable
1 x FDD cable
8 x Serial ATA cable
2 x 2-port Serial ATA power cable
1 x 2-port USB and 1-port 1394 (4-pin) module
1 x Q-Shield
1 x 3 in 1 Q-connector
1 x ASUS optional fan for water-cooling or passive-cooling only
2 x WiFi-AP @n antenna omni-directional antennae
User's manual
ASUS WiFi-AP @n manual
Support Disc
Drivers
ASUS PC Probe II
ASUS Update
ASUS AI Suite
Anti-virus software (OEM version)
Image-Editing Suite
Form Factor
ATX Form Factor, 12"x 9.6" (30.5cm x 24.4cm)

BIOS








สำหรับ ในส่วนของไฟเลี้ยงค่าต่างๆที่สามารถจ่ายได้สูงสุดในแต่ละจุดนั้น ก็สามารถปรับตั้งได้ตามที่ปรากฏอยู่ในภาพหละครับ และลองสังเกตดูว่าในบริเวณมุมขวาบนของหน้า bios ในส่วนของไฟเลี้ยง CPU และ NB นั้นจะมีแจ้งไว้ว่า จะสามารถจ่ายเพิ่มเติมได้อีกระดับหนึ่ง หากมีการย้ายจั๊มเปอร์ไปอีกด้าน




Test Setup


System
Mainboard

ASUS P5Q3 Deluxe WiFi-AP@n ( Intel P45 )
ASUS P5K Deluxe WiFI-AP ( Intel P35 )
ASUS P5E3 Deluxe WiFi-AP ( Intel X38 )
ASUS P5E3 Premium WiFi-AP@n ( Intel X48 )

CPU
Intel Core 2 Duo E8500
CPU Cooler
Scythe Ninja mini /EK Supreme+360 BlackIce Xflow+MCP355+SS FM123
Memory
Cell Shock PC3-14400C8
VGA
2x ASUS EAH3870 TOP CF
Harddisk
Western Raptor 74GB
Optical Drive
ASUS DRW-1814BLT SATA
Power Supply
GIGABYTE ODIN 1200W

Software
Mainboard Bios
0702
Chipset Driver
Intel inf 9.0.0.1008
VGA Driver
ATI Catalyst 8.6beta
Memory Timing
DDR3-1600 CL 6-6-6-15

บรรยากาศ ขณะทำการทดสอบ ซึ่งที่เห็นว่าใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำนั้น จริงๆแล้วก็ใช้เฉพาะตอนทดลองโอเวอร์คล๊อกเท่านั้นเองครับ แต่ตอนทดสอบจริงจากทั้งหมดจะใช้ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศเท่านั้นเองครับ

CPUZ


สำหรับ ซีพียุที่เราใช้ในการทดสอบวันนี้นั้นเป็นซีพียุในโมเดล E8500 จากที่ครั้งแรกตั้งใจไว้ว่าจะทดสอบด้วย QX9770 แต่บังเอิญว่ามันติดภาระกิจอยุ่ในงานคอมมารท์ ก็เลยเลือกใช้ E8500 แทนส่วนความเร็วที่ใช้ในการทดสอบนะครับ ก็ถือว่าเป็นความเร็วที่อาจจะเรียกได้ว่าความเร็วมาตรฐานโลกในการโอเวอร์ คล๊อกและนิยมใช้ทดสอบกัน นั่นก็คือที่ความเร็ว FSB เท่ากับ 400MHz ส่วนตัวคูณที่เลือกก็เลือกใช้ x9 ก็ทำให้ได้ความเร็วในการทดสอบที่ 3.6GHz แต่ประเด็นที่เลือกใช้บัส 400 จะเป้นเพราะอะไรนั้น เดี๋ยวเราค่อยมาว่ากันอีกครั้งนะครับ เรามาดูรายละเอียดของเมนบอร์ดที่อ่านได้จาก CPU-Z ในเวอร์ชันล่าสุดกันซักนิด ซึ่งรายละเอียดที่ออกมาก็ถูกต้องและครบถ้วนทั้งหมดครับ

ใน ส่วนของความเร็วเมโมรีนั้นก็ได้เลือกใช้ที่ความเร็ว 800MHz หรือ DDR3-1600MHz ส่วนอัตราค่าไทมิ่งนั้นจะปรับใช้ที่ CL 6-6-6-15 ส่วนค่า Subtiming นั้นจะเลือกเป็น Auto ยกเว้นเพียงค่า TRFC ที่จะเลือกปรับตั้งเป็น 48 และทางด้านของกราฟิกการ์ดนั้นก็ทดสอบที่ความเร็วมาตรฐานของตัวการ์ดและทดสอบ กันในโหมด Crossfire แต่ในภาพเราจะเห็นว่า GPU-Z นั้นแสดงผลออกมาว่า Disable อยู่ แต่จริงๆแล้วนั้นเราเปิดใช้ Crossfire แล้วแน่นอน เพียงแต่ GPU-Z รายงานผิดพลาดเท่านั้น ตรงนี้ก็อาจจะเกิดจากเวอร์ชันของ Driver ที่เราใช้ในการทดสอบก็เป็นได้

Everest Ultimate Edition



สำหรับ Everest นั้นกับในเวอร์ชันใหม่ล่าสุดแล้วในขณะนี้ก้ยังไม่สามารถแสดงรายละเอียดได้ มากนัก ในส่วนของข้อมุลของชิบเซต แต่สำหรับรายละเอียดค่าไทมิ่งนั้นก็สามารถแสดงค่าออกมาได้ทั้งหมด

Benchmark Result


System
Mainboard

ASUS P5Q3 Deluxe WiFi-AP@n ( Intel P45 )
ASUS P5K Deluxe WiFI-AP ( Intel P35 )
ASUS P5E3 Deluxe WiFi-AP ( Intel X38 )
ASUS P5E3 Premium WiFi-AP@n ( Intel X48 )

CPU
Intel Core 2 Duo E8500
CPU Cooler
Scythe Ninja mini /EK Supreme+360 BlackIce Xflow+MCP355+SS FM123
Memory
Cell Shock PC3-14400C8
VGA
2x ASUS EAH3870 TOP CF
Harddisk
Western Raptor 74GB
Optical Drive
ASUS DRW-1814BLT SATA
Power Supply
GIGABYTE ODIN 1200W

Software
Mainboard Bios
0702
Chipset Driver
Intel inf 9.0.0.1008
VGA Driver
ATI Catalyst 8.6beta
Memory Timing
DDR3-1600 CL 6-6-6-15

Memory Setup on Testing




เรามาดูเหตุผลกันซักหน่อยก่อนที่จะไปชมผลการทดสอบที่เราได้มีการนำเอาเมน บอร์ดในตระกูลที่จัดว่าเป็นระดับเดียวกัน จากชิบเซตในแต่ละรหัสทั้งหมดอีก 3 โมเดลคือ P5K3 Deluxe กับ Intel P35 ต่อมากับ P5E3 Deluxe กับ Intel X38 และสุดท้ายที่ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ Deluxe Series แต่มันก็ถือว่าคือๆกันนั่นก็คือ P5E3 Premium กับ Intel X48 เดี๋ยววันนี้เราก็จะได้ทราบกันแน่นอนว่าชิบเซตตัวใหม่ล่าสุดสำหรับ Intel P45 นั้นมันจะซักขนาดไหน แต่... เรากลับมาว่ากันที่เรื่องของ FSB ที่เลือกใช้ทดสอบกันก่อนว่าเหตุใดต้อง 400MHz กล่าวคือที่เลือกใช้ FSB หรือ Bus Speed ที่ 400MHz นั้นก้เพราะว่าต้องการดูว่าค่า Performance Level ที่บู๊ตขึ้นมาจาก Bios ที่อัตราทด 1:2 มาตรฐานของ DDR3 นั้นมันจะบู๊ตมาให้เป็นค่าที่ระดับใด และคำตอบที่ออกมาก็คือที่บัส 400MHz เมนบอร์ดทั้ง 4 ตัวต่างก็บู๊ตค่า Perf Lvl = 6 ทั้งหมด ตรงนี้สำหรับค่า Perf Lvl บน DDR3 นั้นถ้าหากว่าความเร็วที่ออกมาในระดับ 6 หรือ 7 จะถือว่าเป็นระดับที่ดีถึงดีมาก แต่ถ้าเป็น 8 หรือ 9 นั้นก็ยังอยุ่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ประสิทธิภาพยังตกลงไม่มาก แต่ถ้าเกิน 9 ขึ้นไปนี่จะถือว่าหลวมเกินไป ประสิทธิภาพนั้นจะหายไปมาก แต่สิ่งที่ได้รับมาแทนก็คือระบบจะเสถียรมากขึ้นนั่นเอง อีกหนึ่งจุดที่จะเห็นว่า P45 เป้นรองอยู่เล็กน้อยก็คือในส่วนของค่า CR ที่เราจะเห็นว่ามันบู๊ตมา 2T แทนที่จะเป็น 1T ดังเช่นเมนบอร์ดตัวอื่นๆ (หากว่า Memset และ CPU-Z รายงานได้ถูกต้อง) และในส่วนของค่า Sub Timing จากที่เราปล่อยให้เมนบอร์ดจัดการเองเพื่อดูว่าชิบเซตตัวใดจะจัดการไทมิ่งได้ ดีที่สุด โดยรวมที่ออกมาก็ใกล้เคียงกันมาก แตกต่างกันเพียงเล็กๆน้อยๆเท่านั้น เอาหละถ้าอย่างนั้นเอาเป็นว่าเราไปชมผลการทดสอบกันเลยนะครับ ว่าผลที่ออกมานั้นจะมีความแตกต่างกันมากน้อยซักเพียงไรจากชิบเซตทั้ง 4 โมเดลในวันนี้


Sisoftware Sandra 2007 - Processor Arithmetic



Sisoftware Sandra 2007 - Processor Multi-Media



Sisoftware Sandra 2007 - Memory Bandwidth



Sisoftware Sandra 2007 - Memory Latency



Sisoftware Sandra 2007 - Cache and Memory




Benchmark Result Continue


PCMark05 BenchMark



Everest CPU BenchMark



Super PI 1M Calculation



Super PI 1M Calculation



WinRAR 3.7b



CINEBENCH 9.5



CINEBENCH R10




Wprime 1.43 BenchMark



Hexus_Pifast BenchMark



.x264 BenchMark



3DMark 01 BenchMark



3DMark 03 BenchMark



3DMark 05 BenchMark



3DMark2006 BenchMark



AQUAMARK 3



สำหรับผลในส่วนของ 3D นั้นตามที่ออกมาก็คงชัดเจนในส่วนของ P5K3 Deluxe ที่ค่อนข้างตกเป็นรอง ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่มันตกเป็นรองเพราะความเร็วในการเชื่อมต่อของกราฟิก การ์ดในแบบ Crossfire ก็เป้นรองอยุ่แล้วแถมยังเป็นตัวเดียวที่ยังใช้ PCI-E 1.0 อีกด้วย ( P35-16x+4x, X38-16x+16x, X48-16x+16x, P45-8x+8x )

Overclockability


หลังจากได้ชมผลการทดสอบในแบบ Gerneral Performance กันไปแล้วเราก็คงจะได้เห็นไปแล้วว่าประสิทธิภาพโดยรวมของ P45 นั้นเป็นอย่างไรบ้าง และจุดนี้เราก็จะมาว่ากันต่อในส่วนของความสามารถในการโอเวอร์คล๊อกกันบ้างนะ ครับ สำหรับวันนี้นั้นก็มีมาให้ได้ชมกันแค่ Dual-Core กันก่อนนะครับ พอดีว่าตอนทดสอบนั้นเจ้า QX ของเราไม่ว่าง ก้ลองมาดูกันนะครับว่าความสามารถในการ "ลากบัส" ที่กำลังเป็นกระแสในตอนนี้ของ P45 นั้นมันจะทำได้ดีขนาดไหน

Core 2 Duo E8500@615MHz FSB (boost@610MHz)



Pi1M@610MHz FSB



Pi32M@581MHz FSB



Final Thought


สำหรับกับบททดสอบที่ผ่านไปทั้งหมดตรงนี้ทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพโดยทั่ว ไปเปรียบเทียบกับชิบเซตตัวอื่นๆ และความสามารถในการโอเวอร์คล๊อกนั้น ผลที่ออกมาในเรื่องของประสิทธิภาพโดยทั่วๆไปก็ถือว่าอาจจะยังไม่สามารถสร้าง ความประทับใจได้มากมายนัก เพราะผลที่ออกมาก็แสดงให้เห็นแล้วว่ามันไม่ได้เหนือกว่าชิบเซตตัวเก่าๆอย่าง P35 ได้เลย จากจุดนี้ก็คงจะหายสงสัยกันแล้วนะครับว่า ชิบเซตตัวใหม่ตัวนี้มันมีความแรงหรือประสิทธิภาพขนาดไหน โดยรวมแล้วก็ถือว่าอยุ่ในระดับที่ไกล้เคียงกันถึงแม้ว่าอาจจะตกเป็นรองบ้าง ในบางการทดสอบ โดยเฉพาะในช่วงของการเรียกใช้ประสิทธิภาพจากเมโมรีเป็นหลัก ส่วนสาเหตุที่เกิดขึ้นก็คงเกิดจากค่า CR ของเมโมรีที่ทำงานอยุ่ที่ระดับ 2T แทนที่จะเป็น 1T และจุดนี้ถ้าหากถามว่าแล้วเหตุใดเราไใม่ลองปรับเลือกให้มันบู๊ตที่ 1T ดูบ้างหละ ? จริงๆแล้วก็พยายามจะปรับอยุ่แต่ปรากฏว่าใน Bios นั้นไม่มีให้ปรับตั้งเหมือนๆกับเมนบอร์ดตัวอื่นๆ(หรือว่าผมหาไม่เจอ) ถัดมาเรามาดูในส่วนของประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับ 3D Aplication กันบ้างนะครับ จากที่สงสัยกันว่ากับความเร็วของ PCI-e ที่จะถูกแบ่งไปครึ่งหนึ่งหากใช้งานกราฟิกการ์ดในโหมด Crossfire จนกลายเป็น 8x+8x แต่กับผลทดสอบที่ออกมานั้น เราก็คงจะเห็นไปแล้วว่าแทบจะไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพเลย เพราะผลการทดสอบที่ได้มาก็ยังคงทำได้ดีเทียบเท่ากับรุ่นพี่ๆอย่าง X38 และ X48 และสุดท้ายกับความสามารถในการโอเวอร์คล๊อกนั้น คงไม่ต้องบรรยายอะไรมากแล้วนะครับ ผลที่ออกมานั้นต้องยอมรับเลยว่าเป็นเมนบอร์ดหรือชิบเซตที่โอเวอร์คล๊อก FSB ได้เมามันส์มาก สามารถพาซีพียูของเราทะลุ 600MHz ได้แบบไม่ยากเย็น แต่ถ้าถามว่าเสถียรแค่ไหนนั้น ก็คงบอกได้ว่า ณ เวลานี้ก็ตามที่เห็นหละครับ เนื่องจากว่าไม่มีเวลาจะเล่นมากกว่านี้แล้ว เอาไว้ว่างๆแล้วจะนำออกมาอัดเล่นให้ได้ชมกันอีกครั้ง

สำหรับวันนี้เรายังไม่จบลงแค่เพียงเท่านี้ แต่ยังมีอะไรที่น่าสนใจให้ได้ติดตามกันต่อ แต่จะเป็นอะไรอย่างไรนั้น ก็คงต้องไปติดตามชมพร้อมๆกันเลยนะครับ

EPU 2 Technology - Six Engine


อีกหนึ่งเรื่องราวที่กำลังเป็นที่มาแรงในเวลานี้นอกจากเรื่องของความแรงความ สามารถในการโอเวอร์คล๊อก ที่ผู้ผลิตหลายๆรายต่างก็เริ่มหันมาให้ความสนใจมากขึ้นกับเทคโนโลยีที่ช่วย ในเรื่องของการลดอัตราการใช้พลังงาน ส่งผลต่อการช่วยเหลือโลกใบนี้ให้พ้นจากภาวะโลกร้อน สำหรับตรงนี้เองกับเมนบอร์ดจากทาง ASUS นั้นจริงๆแล้วก้ได้เริ่มให้ความสนใจในเรื่องนี้มาระยะเวลาหนึ่งแล้ว เพียงแต่ไม่ได้มีการ PR หรือโปรโมทเป็นเรื่องเป็นราวเท่านั้น จนถึงวันนี้ก็คงเริ่มหันมาเอาจริงเอาจังบ้างแล้ว เพราะได้มีการออกแบบเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า EPU ของตนเองใหม่หมด และได้เรียกมันว่า EPU2 หรือ Six Engine เดี๋ยวเรามาติดตามดูว่าในภาคต่อของ EPU Technology จาก ASUS ในวันนี้นั้นมันจะทำได้ดีขึ้นกว่า EPU เวอร์ชันแรกมากน้อยเพียงไร


เริ่ม ต้นเลยนั้นเราก็คงจะต้องติดตั้ง Driver กันเสียก่อน และหลังจากติดตั้ง Driver และรีบู๊ตเครื่องขึ้นมา เราก็จะพบกับ Icon ของ Six Engine บู๊ตขึ้นมาที่บริเวณ Task Maneger


เมื่อ ทำการ Double Click เพื่อจะเรียกตัวโปรแกรมขึ้นมา โปรแกรมก็จะมีการแจ้งเตือนขึ้นมาว่าจะทำการ Calibration ก่อน ซึ่งจะรันหรือ Calibrate เพียงครั้งเดียวครั้งแรกในการเรียกใช้เท่านั้น ตรงนี้ก็เป้นเหมือนกับการตรวจเช็ค ตรวจสอบดูว่ามีอุปกรณ์ใดบ้างติดตั้งอยู่ เพื่อที่จะทำการปรับตั้งค่าต่างๆให้เหมาะสม


เมื่อ ทำการ Calibrate เสร็จสิ้นตัวโปรแกรม Six Engine ก็ปรากฏขึ้นมาแล้ว ซึ่งหน้าตาของตัวโปรแกรมนั้นก็ถือว่าทำออกมาในแบบเรียบๆไม่หวือหวามากนัก ส่วนที่มาของคำว่า Six Engine บนเทคโนโลยี EPU2 ตรงนี้นั้นก็มาจากการออกแบบที่จะสามารถลดการใช้พลังงานได้จาก 6 จุดใหญ่ๆบนเมนบอร์ดหรืออุปกรณ์ที่ติดตั้งอยุ่อันได้แก่ CPU, VGA, Chipset, Memory, HDD และ Fan หรือพัดลมนั่นหละครับ ในส่วนของอินเทอร์เฟสนั้นก็จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆคือ สถาณะแสดง Engine หรือจุดที่มีการลดพลังงาน ส่วนที่สองก็จะเป็นในส่วนของโหมดหรือระดับอัตราการลดการใช้พลังงาน และส่วนที่สามก็คือกราฟ 5เหลี่ยมที่จะแสดงให้เห้นว่าในแต่ละโหมดนั้นจะเน้นหนักไปทางใดบ้าง


สำหรับ โหมดในการประหยัดพลังงานของ Six Engine นั้นจะมีอยุ่ด้วยกันทั้งหมด 5 ระดับหรือ 5 โหมดคือ Auto Mode, Turbo Mode, High Performance Mode, Medium Powersaving Mode และ Max Powersaving Mode โดยทั้ง 5 โหมดตรงนี้เราจะสามารถปรับตั้งได้ตามความต้องการ 4 โหมด ส่วนในโหมด Auto นั้นเราจะไม่สามารถปรับตั้งรายละเอียดใดๆได้ สำหรับการปรับตั้งทั้ง 4 โหมดว่าจะสามารถปรับตั้งอะไรได้บ้างอย่างไร ก้สามารถดูได้จากภาพทั้ง 4 ภาพที่นำมาให้ชมกันทางด้านบนนะครับ กล่าวโดยรวมนั้นเราก็จะสามารถลดระดับไฟเลี้ยงของจุดต่างๆทั้ง CPU, NB และระดับของความเร็วรอบของพัดลมว่าต้องการจะลดลงมากขนาดไหน หรือแม้กระทั่งความเร็วการทำงานของซีพียูว่าจะให้ลดลงกี่เปอร์เซนต์


สำหรับ โหมดมาตรฐานที่ Six Engine บูีตขึ้นมาใช้งานนั้นจะเลือกอยุ่ที่โหมด High Performance และเมื่อเราลองเปิดหน้าต่างเพื่อเช็คดูว่าตอนนี้ซีพียุของเรานั้นใช้พลังงา นอยุ่ขนาดไหน ซึ่งในหน้าต่างก้แสดงให้เห้นอยู่ว่าเวลานี้ใช้พลังงานอยุ่ที่ประมาณ 65.5W ส่วนระดับพลังงานทั้งหมดทั้ง System ที่เราเช็คจาก Watt Meter นั้นก้อ่านได้ที่ 247W โดยประมาณ


และ เมื่อเราลองโยกคันเกียร์มาใช้งานที่โหมด High Powersaving เมื่อโปรแกรมตอบรับและปรับไปเรียบร้อย เราจะเห้นว่ากราฟ 5 เหลี่ยมด้านขวานั้นจะโย้ไปทาง Energy Saving และ Reliability ตรงนี้ก็ประมาณว่า ระบบได้เข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานมากที่สุดแต่ก้ยังคงให้ความน่าเชื่อถือ หรือยังมีความมีเสถียรภาพมากพอต่อการใช้งาน และเมื่อเรามาดูที่ระดับพลังงานของซีพียุนั้นก็ลดลงเหลือ 49.25W ในจุดนี้ก้สามารถประหยัดพลังงานเฉพาะในส่วนของซีพียูได้ถึง 16.25W โดยประมาณ และเมื่อเรามาดูกันที่ Watt Meter ของเรานั้นก็อ่านได้ที่ 215W ก็เท่ากับว่าทั้งระบบสามารถลดพลังงานได้มากกว่า 32W เลยทีเดียว สำหรับทั้งระบบนั้นเราก็จะเห็นว่าตัวโปรแกรมจะแสดงออกมาว่าตอนนี้มีอุปกรณ์ ตัวใดบ้างที่ได้รับการประหยัดพลังงาน และจากภาพของเราก็จะแสดงให้เห้นว่ามีอยู่ด้วยกัน 5 จุดยกเว้น VGA (สาเหตุที่ VGA เราไม่สามารถลดพลังงานได้นั้น เพราะเราไม่ได้ลง Driver ที่เป็นของ ASUS เอง )

คราว นี้เราลองมาปรับตั้งในแบบ Custom ดูบ้างซึ่งเราเลือกที่จะปรับในโหมดของ Max Powersaving ให้มันมีความประหยัดขึ้นไปอีก โดยการเลือกระดับการลดไฟเลี้ยงทุกอย่างไปเป็นค่ามากที่สุด และเมื่อกดยืนยันก็จะมีหน้าต่างแจ้งให้ทราบว่า ค่าที่เราปรับตั้งไปนั้นอาจจะทำให้ระบบขาดความมีเสถียรภาพ ถ้าต้องการลองดูก็กด Yes

เมื่อ เรากด Yes ไปและรอระบบเซตตัวตามที่ปรับตั้ง ผลที่ออกมาคือเราสามารถลดระดับการใช้พลังงานลงมาได้อีกประมาณ 6W และในส่วนของ Watt Meter นั้นลดลงเพียงเล็กน้อยประมาณ 3-4W

สำหรับภาพรวมหลังจากที่เราทดลองใช้งาน Six Engine ที่เราสามารถใช้งานได้เพียง 5 Engine เท่านั้น ซึ่งก็สามารถช่วยในการลดพลังงานได้ในระดับที่ดีที่น่าพอใจ เพราะถ้าดูจากระยะเวลาที่เราทดลองใช้งานในช่วงเวลาอันสั้นนั้น ระดับพลังงานโดยรวมที่เราประหยัดได้มีมากถึง 5.8W*hr และช่วยสามารถลดปริมาณ CO2 ได้กว่า 3597.751 mg โดยประมาณ สำหรับค่าการลด CO2 หรือคาร์บอนไดออกไซด์ตรงนี้ก็เป็นเพียงค่าเปรียบเปรยให้เห้นว่าหากเราสามารถ ลดระดับการใช้พลังงานไปได้มากเท่าใด ก้เสมือนว่าเรานั้นช่วยลดปริมาณการปล่อย CO2 ได้มากเท่านั้น หรือเปรียบได้ในอีกทางว่าเหมือนกับการที่เราได้ช่วยในการปลูกต้นไม้เพื่อ ช่วยในการลด CO2 นั่นเองครับ


Conclusion


เอาหละครับในช่วงสุดท้ายของวันนี้กับการนำเสนอเรื่องราวของ ASUS P5Q3 Deluxe WiFi-AP@n นั้นตรงนี้ผมเองคงไม่มีอะไรจะสรุปไว้มากแล้วนะครับ เพราะถ้าเป้นในเรื่องของ Performance ก็ได้สรุปไปแล้ว และในเรื่องของเทคโนโลยีประหยัดพลังงานก็กล่าวถึงค่อนข้างละเอียดไปแล้วเช่น กัน ตรงนี้ก็คงจะกล่าวได้ว่าครบถ้วนพอสมควรแล้ว แต่หากว่ามีสิ่งใดผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องไปบ้าง ก็คงต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้เลย และใครที่มีข้อคิดเห็นหรือสงสัยหรือมีข้อเสนอแนะใดๆ ก็สามารถร่วมกันแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนะในมุมมองของตัวท่านได้ เราพร้อมที่จะยินดีรับฟังและให้คำตอบ อย่างนั้นแล้วสำหรับวันนี้กับเมนบอร์ดในโมเดลใหม่ล่าสุดอีกหนึ่งตัวที่มาบน Intel P45 ตัวนี้โดยสรุปแล้วมันจะน่าสนใจขนาดไหนนั้น ผมว่าตัวท่านเองเป็นคนให้คำตอบได้ดีที่สุด สำหรับวันนี้ก็คงจะมีแต่เพียงเท่านี้ ครั้งต่อไปเราจะมีอะไรมาให้ได้ชมกันอีกนั้นก็อย่าลือรอชมกันนะครับ สวัสดีครับ...


ASUS P5Q3 Deluxe WiFi-AP@n

Special Tanks ...ASUSTek Inc.