ASUS P5Q Deluxe Preview

ASUS P5Q Deluxe Preview


สวัสดีครับ....วันนี้ทางเราก็มีเรื่องราวข่าวสารใหม่ๆมาอับเดทกันอีกแล้วนะ ครับ กับเรื่องราวที่กำลังเป็นกระแสให้ติดตามกันมากที่สุดในเวลานี้ ซึ่งคงจะเป็นอะไรไปมิได้เลยหากไม่ใช่เรื่องราวของชิบเซตตัวใหม่ล่าสุดจากทาง อินเทลในรหัส P45 ซึ่งดูเหมือนว่าค่อนข้างจะเป็นอะไรที่ฮือฮาพอสมควรกับชิบเซตในรหัสนี้เนื่อง จากมันค่อนข้างเป็นข่าวคราวใหญ่โต ยิ่งกว่าตอนที่จะเปิดตัวชิบเซตในรหัส X48 เสียอีก ทั้งๆที่มันเองก็เป็นชิบเซตตัวรองจาก X48 แท้ๆ แต่มันคงจะต้องมีอะไรพิเศษอย่างแน่นอนไม่อย่างนั้นแล้วคงไม่เป้นข่าวคราว ใหญ่โตขนาดนี้แน่นอน และสำหรับในวันนี้เราก็มีเมนบอร์ดตัวเป็นๆที่มาบนชิบเซตตัวใหม่ล่าสุดตัวนี้ แต่ในวันนี้นั้นเรื่องราวทั้งหมดที่จะนำเสนอไปจะยังคงเป็นเพียงลักษณะของการ Preview กันก่อนนะครับ เนื่องจากว่าชิบเซตตัวนี้ยังไม่มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการจากทางอินเทล ซึ่งเราเองก็ไม่อาจที่จะนำเสนอประสิทธิภาพแบบเต็มๆของมันได้ เอาไว้ถึงเวลาที่มันเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อไหร่ ตอนนั้นเราค่อยมาชมประสิทธิภาพแบบเต็มๆของมันกันอีกครั้งหนึ่ง เอาเป็นเดี๋ยวเรามาดูกันเลยแล้วกันนะครับว่า Intel P45 ตัวใหม่นี้มันจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือแตกต่างไปจากเจ้า P35 หรือ X38 และ X48 อย่างไรบ้าง


Intel P45 Chipset ( Codename 'Eaglelake')


เริ่ม แรกเรามาดูกันที่จุดยืนของเจ้า Intel P45 กันก่อนซักนิดนะครับว่าตัวมันนั้นจะถูกจัดมาให้อยู่ในระดับใดในท้องตลาด สำหรับชิบเซตตัวใหม่นี้ที่มีรหัส " P45 " นั้นมันจะมาภายใต้โค๊ดเนมที่ชื่อว่า "Eaglelake" สังเกตนะครับว่าช่วงหลังนี้ชื่อเรียกของชิบเซตจากทางอินเทลมักจะลงท้ายด้วย คำว่า "lake" ส่วนที่มาที่ไปของมันนั้นอันนี้ก็ไม่ทราบได้เช่นกันครับ ส่วนจุดยืนหรือระดับการจัดวางตำแหน่งในตลาดของมันนั้นก็จะเข้ามาแทนที่ชิ บเซตในรหัส P35 โดยที่จะยืนอยู่ในกลุ่มของ Premium และ Mainstream หรือถ้าเอาเข้าใจง่ายๆก็คืออยู่ในกลุ่มของตลาดหลักทั่วไปจนเกือบสูง ส่วนในระดับสูงจริงๆนั้นก็ยังคงเป็นชิบเชตในรหัส Bearlake X48 เช่นเดิม วกกลับมาที่เรื่องราวของชิบเซตในระดับกลางตระกูล P4x นั้นก็จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ตัวคือ P45, G45 และ G43 โดยทั้งหมดนี้ก็จะมาพร้อมกับชิบ Southbridge ตัวใหม่เช่นกันภายใต้รหัส ICH10 และนี่เองคือความแตกต่างจุดแรกของเมนบอร์ดที่ใช้ P45 กับ P35 ก่อนหน้านี้ ส่วนความแตกต่างในจุดอื่นๆนั้นเดี๋ยวเรามาดูกันต่อเลยครับ


สำหรับ ความแตกต่างจุดต่อมาระหว่าง Intel P45 และ Intel P35 นั้นก็จะเป็นในส่วนของความเร็วในการเชื่อมต่อของกราฟิกการ์ดบนอินเทอร์เฟส PCI-Express ซึ่งบนชิบเซตในรหัส P45 นั้นจะใช้ Pci-e x16 Gen2 หรือว่า Pci-e 16x 2.0 นั่นเองครับ แต่ทั้งนี้จากเมนบอร์ดในปัจจุบันนี้ที่จะสามารถรองรับการเชื่อมต่อของกราฟิก การ์ดในแบบ Multi-GPU โดยที่เมนบอร์ดบนชิบเซตอินเทลจะสามารถใช้งานกราฟิกการ์ดจากทาง ATI ในแบบ Crossfire ได้ ตรงนี้ก็แสดงว่าเมนบอร์ดตัวนี้ที่มากับชิบเซตรหัส P45 นั้นก็จะต้องมีสล๊อต Pci-e x16 จำนวน 2 สล๊อตหรืออาจจะมากกว่า และจากที่บอกไปว่าชิบเซต P45 จะรองรับ Pci-e 16x 2.0 แต่ไม่ได้หมายความว่าหากมี 2 สล๊อตแล้วทั้งสองสล๊อตจะทำงานที่ความเร็วเต็ม 16x ทั้งสองสล๊อต แต่มันจะทำงานในแบบ 8x + 8x เท่านั้น และนี่ก็คืออีกหนึ่งความแตกต่างระหว่าง P45 และ P35 ส่วนอีกหนึ่งจุดที่แตกต่างกันนั้นก้จะเป้นในเรื่องของการรองรับขนาดความจุใน การติดตั้งเมโมรี จากเดิมที่ชิบเซต P35 นั้นจะรองรับความจุรวมกันสูงสุดได้เพียง 8GB เท่านั้นแต่สำหรับกับ P45 ตัวใหม่นี้จะให้เราสามารถติดตั้งเมโมรีรวมกันได้มากขึ้นอีกเท่าตัวคือ 16GB ด้วยกัน และนี้ก็คือความแตกต่างหลักๆที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในเวลานี้ระหว่าง Intel P45 และ P35 ส่วนในจุดปลีกย่อยอื่นๆจะมีอะไรอีกบ้างนั้นคงต้องรอชมกันอีกครั้งเมื่อมีการ เปิดตัวอย่างเป้นทางการหละครับ


ASUS P5Q Deluxe


ต่อ จากเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่างกันไปแล้ว คราวนี้เรามาดูหน้าตาของเมนบอร์ดโมเดลใหม่ที่มาพร้อมกับชิบเซตตัวใหม่ตัวนี้ กันต่อนะครับ สำหรับวันนี้ตัวแรกที่เราหยิบมานำเสนอนั้นก็เป็นเมนบอร์ดจากทาง ASUS ในโมเดลที่มีชื่อรุ่นว่า P5Q Deluxe โดยตัวแพ็กเกจนั้นมีการเปลี่ยนโฉมจากยุคของ P35 อย่างชัดเจนคือเมื่อก่อนเราจะเห็นว่าแพ็กเกจมักจะมาในโทนสีดำ แต่สำหรับในซีรีย์ P45 นี้นั้นตัวแพ็กเกจมาในโทนสีน้ำเงินน้ำทะเลแวววาว ส่วนตัวอุปกรณ์บันเดิลนั้นก็ยังคงไม่มีอะไรแปลกใหม่ไปจากเดิมนัก ส่วนจะมีอะไรบันเดิลมาให้บ้างนั้นก็สามารถชมเอาจากภาพได้เลยครับ




สำหรับ ตัวเมนบอร์ดหรือว่าเลย์เอาท์ทั้งหมดนั้นได้รับการออกแบบมาให่ทั้งหมด แต่ก็ยังอยุ่ภายใต้เลย์เอาท์พื้นฐานของเมนบอร์ดในมาตรฐาน ATX ทั่วๆไป แต่สังเกตว่าสล๊อตสำหรับติดตั้งเมโมรีนั้นจะลดต่ำลงมาพอสมควร ตรงนี้ก็คงเพื่อที่จะลดระยะทางระหว่างชิบ Northbrige กับสล๊อตเมโมรีให้มีระยะทางที่สั้นที่สุดนั่นเอง ส่วนอุปกรณ์อื่นๆนั้นก็ยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมทั้งหมด และทางด้านหลังของตัวเมนบอร์ดนั้น ASUS ก็ยังคงใช้เทคโนโลยี Stackcool อยู่เช่นเดิม ส่วนที่เห็นว่ามีแผ่นอลูมิเนียมอยู่สองแผ่นนั้น ไม่ใช่ว่าเป็นเพียงตัวช่วยยึดฮีตซิงก์ทางด้านบนเท่านั้น แต่มันก็ยังเป็นฮีตซิงก์ของชุดภาคจ่ายไฟที่ติดตั้งเพิ่มเข้ามาทางด้านหลัง อีกด้วย ส่วนหน้าตาจะเป็นอย่างไรนั้นเดี๋ยวเรามีมาให้ชมกันชัดๆแน่นอนครับ


ใน ส่วนของซีพียูที่รองรับนั้นก็ชัดเจนว่า ยังเป็นซีพียูภายใต้แพลทฟอร์ม LGA775 ในทุกๆโมเดลที่มีความเร็ว FSB ตั้งแต่ 800MHz ขึ้นมาจนถึง 1600MHz และสำหรับภาคจ่ายไฟของเมนบอร์ดในซีรีย์ใหม่ตัวนี้จากทาง ASUS นั้นทาง ASUS ได้มีการออกแบบมาใหม่ทั้งหมดโดย จะเป็นภาคจ่ายไฟในขนาด 16เฟสด้วยกันและเป็นแบบ 16เฟสแท้ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีประหยัดพลังงานในชื่อว่า EPU2 ซึ่งเจ้า EPU2 นี้นั้นจะเป็นเทคโนโลยีประหยัดพลังงานในระดับ Hardware และนอกจากที่จะลดการใช้พลังงานของซีพียูแล้วนั้นกับ EPU2 นี้จะควบคุมด้วยกันทั้งหมด 6 จุดบนเมนบอร์ดคือ CPU, VGA, Memory, Chipset, HDD and System Fan


ภาคจ่ายไฟทั้ง 16 เฟสของซีพียูที่จะมีชุด Mosfet ในแบบ Low RDS 2ชุดต่อ 1 เฟส ชิบควบคุมไฟนั้นจะถูกนำไปติดตั้งอยุ่ด้านล่างของ PCB โดยการออกแบบนั้นก็จะมีการจัดเรียงภาคจ่ายไฟแนวละ 8 เฟส


ทั้งนี้นอกจากภาคจ่ายไฟของซีพียูที่ได้รับการออกแบบมาใหม่แล้วนั้น ในส่วนของภาคจ่ายไฟชิบเซต Northbridge และ Memory ก็ได้รับการออกแบบมาใหม่เช่นเดียวกัน โดยที่ทั้งสองจุดนี้ต่างก็จะใช้ภาคจ่ายไฟที่ขนาด 2เฟสทั้งสองจุด และอีกหนึ่งจุดที่ทาง ASUS ได้ออกแบบมาเอาใจขาโอเวอร์คล๊อกกับจั๊มเปอร์เล็กๆเหนือขึ้นไปจากภาคจ่ายไฟ สำหรับเมโมรี ซึ่งจะเป็นจั๊มเปอร์สำหรับปรับเพิ่มไฟเลี้ยงให้กับ CPU และ NB โดยที่เมื่อย้ายจั๊มเปอร์ไปในอีกด้าน เมนูสำหรับปรับเพิ่มไฟเลี้ยงใน Bios ในส่วนของ CPU และ NB จะมีให้ปรับได้เพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง


มาดูกันต่อกับในส่วนของชุดระบายความร้อนบนเมนบอร์ดตัวนี้กันบ้างนะครับ สำหรับชิบเซต Northbridge นั้นก็จะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่โตพอสมควร แต่ก็ไม่ใหญ่มากจนไปเกะกะกับฮีตซิงก์ซีพียู และสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยสำหรับเมนบอร์ดในปัจจุบันนี้ก็คือฮีตไปป์ โดยทั้งนี้ลักษณะการออกแบบและจัดวางฮีตไปป์นั้นก็ยังคงเป็นในแบบลากยาวมาจาก ชิบ Southbridge ไปจนถึงภาคจ่ายไฟซีพียู แต่ท่อฮีตไปป์ที่ใช้นั้นก็จะเป้นคนละชุดกัน


สำหรับสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้ฮีตซิงก์ทั้งสองตัวจากด้านบนนั้นก็คือชิบเซตตัว ใหม่ล่าสุดในรหัส Eaglelake และ ICH10R นี่หละครับ สำหรับชิบเซต Northbridge P45 นั้นหน้าตาที่ออกมาก็ดูแล้วไม่แตกต่างไปจากชิบเซตในรหัส P35 เท่าไหร่นักและก็ยังมาในแบบที่ไม่มี IHS เหมือนกันกับชิบเซตในรหัส X38 หรือ X48 และในเรื่องของการรองรับการใช้งานกับเมโมรีนั้น Intel P45 ก็ยังคงสามารถใช้งานได้ร่วมกับเมโมรีทั้งในแบบ DDR2 และ DDR3 ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตเมนบอร์ดว่าจะออกแบบให้เมนบอร์ดของตนเองนั้นใช้ งานร่วมกับเมโมรีประเภทใด ส่วนทางด้านของ Southbridge นั้นหน้าตาก็ยังคงเหมือนเดิมไม่มีอะไรแตกต่างไปจากรหัสเก่าๆเช่นกัน แต่แน่นอนว่าภายในนั้นย่อยแตกต่างกัน


สำหรับ เมนบอร์ดตัวนี้ในรหัส P5Q Deluxe นั้นจะรองรับการใช้งานกับเมโมรีในแบบ DDR2 ส่วนความเร็วที่รองรับนั้นก็จะอยุ่ที่ DDR2 667/800/1066/1200MHz และความจุในการติดตั้งเมโมรีทั้งหมดก็ตามสเป็คของ P45 คือ 16GB นั่นเอง


ทางด้านของ Expansion Slot นั้นเมนบอร์ดตัวนี้ทาง ASUS ออกแบบมาให้มีสล๊อต Pci-e x16 จำนวน 3 สล๊อตด้วยกัน โดยที่ความเร็วในการเชื่อมต่อนั้น หากเชื่อมต่อกราฟิกการ์ดเพียงตัวเดียวในสล๊อต Master(สีฟ้า) ก็จะมีความเร้วในการเชื่อมต่อที่ 16x แต่ถ้าเชื่อมต่อใช้งานกราฟิกการ์ดจำนวน 2 การ์ดความเร็วในการเชื่อมต่อก็จะกลายเป็นในแบบ 8x + 8x และสำหรับ Pci-e x16 สล๊อตสุดท้ายจะมีความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุดเพียง 4x เท่านั้นและหากว่าเรามีการใช้งานสล๊อต Pci-e x1 ในสล๊อตใดสล๊อตหนึ่งจาก 2 สล๊อต สล๊อต Pci-e x16 ตัวสุดท้ายก็จะมีความเร็วลดลงเป็น 1x เท่านั้น และนอกจากสล๊อต Pci-e แล้วนั้นก็ยังคงมีสล๊อต PCI 32bit มาให้ได้ใช้งานอีกจำนวน 2 สล๊อต ส่วนทางด้านของพอร์ทสำหรับเชื่อมต่อ HDD นั้นก็จะมีพอร์ท SATA 3.0 มาให้ได้ใช้งานทั้งหมด 8 พอร์ทและ ATA-133 อีกหนึ่งพอร์ท โดยที่ SATA จำนวน 6 พอร์ทจะควบคุมโดย ICH10R รองรับการใช้งานในแบบ RAID0, 1, 5 และ 10 ส่วน ATA-133 และ e-SATA นั้นจะควบคุมจากชิบ Marvell 88SE6121 ส่วน SATA อีกจำนวน 2 พอร์ทจะควบคุมจากชิบ Silicon Image SIL5723 โดย SATA จำนวนสองพอร์ทนี้(สีส้ม) จะเป็นพอร์ทที่รองรับฟังก์ชันเฉพาะจากทาง ASUS ที่มีชื่อว่า Drive Xpert โดยจะเป็นฟังก์ชันสำหรับเพิ่มความสดวกในการ Backup ข้อมุลระหว่าง HDD to HDD ด้วยความรวดเร็วและง่ายในการใช้งาน โดยฟังก์ชันนี้จะสามารถสั่งให้ทำงานได้จากใน Bios โดยตรง


อีกหนึ่งจุดที่พบเห็นได้บนเมนบอร์ดตัวนี้ที่ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่เมนบอร์ดใน ซีรีย์เกมเมอร์ก็ตาม นั่นก็คือตัว Switch Turn-on และ Reset ที่ทาง ASUS ได้ติดตั้งมาให้ได้ใช้งานเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานในแบบนอกเคสห รือว่าแบบ Test Bed และที่อยุ่ใกล้ๆกันนั้นเราจะเห็นว่าในเมนบอร์ดโมเดลใหม่นี้ของ ASUS จะมีการใช้ Bios จำนวน 2 ชุดโดยอีกหนึ่งตัวนั้นจะเป็น Bios สำรองในกรณีที่ตัวหลักมีปัญหามันก็จะทำการ Copy bios จากตัวรองมาเขียนใหม่ในตัวหลัก และในส่วนของ Back I/O Panel นั้นครั้งนี้ทาง ASUS ได้เปลี่ยนแปลงในส่วนของ PS/2 Port ให้สามารถเลือกใช้งานได้ทั้งเมาส์และคีย์บอร์ดอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนพอร์ทเชื่อมต่ออื่นๆนั้นก็ยังคงมีมาให้ได้ใช้งานอย่างครบถ้วนเช่นเดิม


Conclusion


สำหรับเรื่องราวของ Intel P45 Chipset และ ASUS P5Q Deluxe ในวันนี้ก็คงจะมีมาให้ได้ติดตามกันเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ส่วนเรื่องราวเพิ่มเติมในส่วนของบททดสอบและผลการโอเวอร์คล๊อกนั้นเดี๋ยวเรา จะนำมาอับเดทให้ได้ติดตามกันอีกครั้งหนึ่ง และรับรองว่าครั้งหน้านั้นมีมาให้ได้ชมกันแบบจุใจแน่นอน สำหรับในวันนี้จากเรื่องราวที่นำเสนอไปเราก็คงพอที่จะรุ้จักกับชิบเซตตัว ใหม่จาก Intel กันพอหอมปากหอมคอถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทาง ASUS นั้นได้บรรจงสร้างสรรค์ขึ้นมากับเมนบอร์ดของตนเอง สำหรับวันนี้ก็คงต้องขอตัวไปก่อนแต่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่ในครั้งต่อไปนะครับ ส่วนจะมีอะไรให้ได้ติดตามกันอีกนั้นก้คงต้องรอชมกันเอาเองหละครับ สวัสดีครับ...



ASUS P5Q Deluxe

ASUS P5Q Deluxe
Part II



สวัสดีครับ กลับมาต่อภาค 2 กับ เมนบอร์ด ASUS P5Q Deluxe ที่ท่าน Zolkorn ได้เคยนำมาแนะนำกันมาก่อนแล้ว ซึ่งสามารถที่จะเข้าไปดูได้ ที่นี่ สำหรับการทดสอบในวันนี้นั้นมาเล่นกัน
ต่อ ในโหมดโอเวอร์คล๊อก ส่วนประสิทธิภาพในการใช้งานนั้น จะลากได้ไกล ได้สเถียรที่จุดไหน เรามาชมกันเลยครับ กับ
ชิพเซ็ต P45 จาก ASUS P5Q Deluxe กันเลยครับ

ASUS P5Q Deluxe

ตัวบอร์ดนั้นมาในโทนสีดำอมน้ำตาล ซึ่งส่วนใหญ่ ASUS มักจะใช้ PCB สีดำอมน้ำตาลในซีรี่ย์ใหญ่ๆครับ การจัดวาง
เลย์เอาท์ ดูมีระเบียบ เว้นแต่ ช่อง SATA มาแบบแปลกๆหน่อย ภาคจ่ายไฟ 16 เฟสของแท้ ที่จะทำให้ระบบของท่าน
นิ่งและสเถียร พร้อมกับฮีตไปป์ท่อยาวลากผ่านกลางตัวบอร์ดอย่างสวยงาม พร้อมโลโก้ EPU เป็นเทคโนโลยีประหยัด
พลังงานจาก ASUS ครับ






ASUS P5Q Deluxe Bios :




เปิดเครื่องมาก็จะพบกับ Express Gate จาก ASUS ครับ











ในส่วนของไฟเลี้ยงนั้น ทาง ASUS ได้ให้ไฟมามากเกินพอต่อความต้องการในการใช้งานเลยทีเดียวครับ



Test Setup


System
Mainboard
ASUS P5Q Deluxe
CPU
Intel Core 2 Duo E8400
CPU Cooler
ASUS Lion Square
Memory
OCZ Titanium Alpha VX2 1000MHz 1Gx2
VGA
SAPPHIRE HD 4850 512MB
Harddisk
WD 500G AACS SATAII
Power Supply
Cooler Master 850 W

Software & Settings
VGA Driver
Catalyst v. 8.6
Memory Timing
DDR2-1050MHz CL5-5-5-5
OS
Microsoft Windows XP Professional


ภาพบรรยากาศขณะทำการทดสอบ ASUS P5Q Deluxe


Specification


ความเร็วในการทดสอบนั้น จะอยู่ที่ 4.2GHz(525x8) ตลอดการทดสอบครับ โดยที่การทดสอบนั้นจะเป็นการทดสอบ
แบบออนแอร์ทั้งหมดครับ







Everest Ultimate Edition


North Bridge info

South Bridge info





Benchmark (1)



Sisoft Sandra Benchmark


Cinebench 9.5 Benchmark

Cinebench R10 Benchmark

Benchmark (2)



wPrime Benchmark

PCMARK05 Benchmark

Super PI 1M Dual Benchmark


Super PI 32M Dual Benchmark

3DMark01 SE Benchmark

Benchmark (3) & Conclusion

3DMark03 Benchmark

3DMark05 Benchmark


3DMark06 Benchmark

Aquamark3 Benchmark

EPU 2 Technology - Six Engine >>Click<<

EXTEME MODE (On Air Cooling)>>>




Conclusion

เราจะเห็นได้ว่า เมนบอร์ด P5Q Deluxe จาก ASUS นั้น สามารถทำการโอเวอร์คล้อกได้อย่างสเถียร
ตลอดการทดสอบที่ FSB 525 ได้อย่างสบาย ในส่วนของการโอเวอร์คล้อกขึ้นไปอีกขั้น ที่ FSB 550 นั้น ก็ยังสามารถใช้
พัดลมระบายความร้อนเอาอยู่ได้เช่นกัน โดยที่สามารถลากไปได้ไกลที่สุดที่ 4.536GHz (FSB 567) ครับ ในส่วนปัญหา
ในการใช้งานจริงนั้นไม่พบสิ่งผิดปรกติใดๆ ณ ความเร็วที่ 4.4GHz ซึ่งเหมาะกับขาโอที่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการ
โอเวอร์คล้อก โดยที่สามารถลากได้ไม่ยากนัก สำหรับวันนี้หมดเวลาของผมอีกแล้วครับ ไว้พบกันโอกาสหน้าครับ
สวัสดีครับ

www.overclockzone.com
ASUS P5Q Deluxe

Special Thanks : ASUSTEK INC.